กับดักรายได้ปานกลาง ปัญหาใหญ่ ของประเทศกำลังพัฒนา /โดย ลงทุนแมน
Middle Income Trap หรือ กับดักรายได้ปานกลาง
คือปัญหาสำคัญ ที่ทำให้เศรษฐกิจของบางประเทศ พัฒนาแบบก้าวกระโดดต่อไปได้ยากลำบาก
ซึ่งปัญหานี้เอง ที่ทำให้หลายประเทศไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่ประเทศรายได้สูงได้เสียที
กับดักรายได้ปานกลาง คืออะไร
แล้วประเทศจะก้าวข้ามกับดักนี้ได้อย่างไร ?
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
การจัดอันดับว่าประเทศไหน ถูกจัดอยู่ในรายได้ระดับใด ตามเกณฑ์ล่าสุดของ World Bank จะถูกวัดด้วยรายได้ประชาชาติต่อหัว หรือ GNI per capita
- ถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัว น้อยกว่า 32,300 บาทต่อปี
ประเทศนั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำ
- ถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัว อยู่ในช่วง 32,300-391,200 บาทต่อปี
ประเทศนั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง
- ถ้ารายได้ประชาชาติต่อหัว มากกว่า 391,200 บาทต่อปี
ประเทศนั้นจะถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูง
ทั้งนี้ ปัจจัยที่ช่วยให้ประเทศหนึ่ง ประสบความสำเร็จในการยกระดับจากประเทศที่มีรายได้น้อยมาสู่กลุ่มประเทศรายได้ปานกลาง อาจเกิดมาจากหลายปัจจัย
ยกตัวอย่างเช่น
- ค่าจ้างแรงงานในประเทศที่ต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่น จนสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้จำนวนมาก
- การเคลื่อนย้ายแรงงานจากภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ เช่น ภาคเกษตรกรรม ไปสู่ภาคเศรษฐกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เช่น ภาคการบริการ และภาคอุตสาหกรรมการผลิต
- มีทรัพยากรธรรมชาติที่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรพลังงานสามารถส่งออกจนสร้างรายได้มหาศาล หรือมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ จนสร้างมูลค่าจากการท่องเที่ยวได้มาก
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยดังกล่าว ที่ส่งให้ประเทศก้าวจากการเป็นประเทศรายได้ต่ำมาเป็นประเทศรายได้ปานกลาง อาจไม่เพียงพอ ที่จะทำให้ประเทศก้าวสู่การเป็นประเทศรายได้สูง..
และในปี 2006 World Bank ก็ได้นิยามปัญหานี้ว่า “Middle Income Trap”
เพื่อให้เข้าใจว่า อะไรบ้างที่เป็นปัจจัยของปัญหา กับดักรายได้ปานกลางนี้
เราลองมาดูตัวอย่างหลายปัจจัย จากหลายประเทศกัน..
ต้นทศวรรษ 1950 ฟิลิปปินส์เป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เริ่มพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ และยกระดับฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในประเทศให้สูงขึ้น
แต่มาในวันนี้ รายได้ประชาชาติต่อหัวของฟิลิปปินส์ ยังอยู่ที่ประมาณ 120,500 บาทต่อปี ซึ่งยังถูกจัดอยู่ในประเทศรายได้ระดับปานกลาง
หนึ่งในอุปสรรคที่สำคัญของฟิลิปปินส์ คือการขาดนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้า เพราะรัฐบาลของฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญน้อย กับเรื่องการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของประเทศ
ปี 2018 งบวิจัยและพัฒนาของฟิลิปปินส์ มีสัดส่วนเพียงแค่ 0.14% ของมูลค่า GDP ประเทศ ซึ่งถือว่าต่ำมาก เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 2.3%
ฟิลิปปินส์ยังมีปัญหาการคอร์รัปชันอย่างหนัก
ทำให้นโยบายการพัฒนาประเทศ ไม่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
สถานการณ์นี้ ยังคงพบเห็นที่หลายประเทศในลาตินอเมริกา ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ บราซิล
บราซิล เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในลาตินอเมริกา และใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก
ทั้งยังเป็นประเทศที่มีแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะปริมาณสำรองน้ำมันดิบกว่า 12,999 ล้านบาร์เรล ติดอันดับที่ 20 ของโลก
ปี 1990 มูลค่าเศรษฐกิจของบราซิลเท่ากับ 14.4 ล้านล้านบาท
และเติบโตอย่างรวดเร็วจนสูงถึง 81.1 ล้านล้านบาท ในปี 2011
หรือเติบโตเกือบ 5 เท่า ภายในระยะเวลาเพียง 21 ปี
จนทำให้บราซิล เคยถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว และน่าจับตามองที่สุดประเทศหนึ่ง
แต่นับจากปี 2011 มา มูลค่า GDP ของบราซิล ก็ไม่กลับไปสู่จุดนั้นอีกเลย..
บราซิลยังเป็นประเทศที่เศรษฐกิจพึ่งพาภาคการส่งออก
ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ยังเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ที่ความผันผวนของราคาสินค้าส่งออก มักส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของบราซิล
นอกจากนั้น บราซิลยังประสบปัญหาความไม่มีเสถียรภาพของรัฐบาล และปัญหาการคอร์รัปชัน ซึ่งทำให้ต้นทุนในการทำธุรกิจมีสูง เพราะธุรกิจต้องใช้เส้นสายและจ่ายส่วนแบ่งให้ผู้มีอำนาจ
ซึ่งปัญหาเรื่องความไม่โปร่งใสนี้ ก็ได้กลายเป็นอุปสรรคต่อการดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติเข้าไปยังประเทศด้วยเช่นกัน
วันนี้รายได้ประชาชาติต่อหัวของบราซิล อยู่ที่ 284,800 บาทต่อปี ซึ่งยังไม่สามารถก้าวข้ามจากกับดักรายได้ปานกลางไปได้
สำหรับประเทศไทย เราถูกเลื่อนเป็นประเทศที่มีรายได้น้อย มาสู่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางตั้งแต่ปี 1976
และจุดเปลี่ยนสำคัญของเศรษฐกิจไทย ก็เกิดขึ้นไม่นานหลังจากนั้น หลังจากเริ่มมีการเข้ามาลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่น
เนื่องจากญี่ปุ่นในตอนนั้น ได้รับผลกระทบจากการเข้าทำข้อตกลง Plaza Accord กับสหรัฐอเมริกา โดยการลงนามในข้อตกลงดังกล่าว ส่งผลให้ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นแข็งค่าขึ้นอย่างมากและรวดเร็ว
เมื่อเงินแข็งค่าขึ้นจากเดิมมาก ภาคการส่งออกของญี่ปุ่นก็ประสบปัญหา เพราะราคาส่งออกสินค้าแพงขึ้นกว่าเดิมมาก ญี่ปุ่นต้องมองหาฐานการผลิตแห่งใหม่ ที่มีค่าแรงถูกและมีข้อได้เปรียบด้านการส่งออก และแน่นอนว่าประเทศที่ได้อานิสงส์จากตรงนี้ ก็คือ ประเทศไทย
นอกจากเศรษฐกิจไทยจะเติบโตจากการเป็นฐานการผลิตสำคัญแล้ว
ภาคการท่องเที่ยว ก็ก้าวขึ้นมามีบทบาทมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
จากการเข้ามาของนักท่องเที่ยวจีนที่เติบโตแบบก้าวกระโดด จากการที่ชนชั้นกลางของจีน มีฐานะความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมถึงเดินทางมาไทย
แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ ก็ยังไม่เพียงพอจะทำให้ไทยเราหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางนี้
เพราะในปี 2019 ประเทศไทย ยังมีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ที่ 226,500 บาทต่อปี
ทำให้ไทย ยังคงจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง มาเป็นเวลากว่า 45 ปีแล้ว
แล้วประเทศที่สามารถหลุดพ้นกับดักรายได้ปานกลางนี้ เขาทำกันอย่างไร ?
ลองมาดูตัวอย่างใกล้ตัวเรา คือ ไต้หวัน ที่วันนี้มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ประมาณ 830,000 บาทต่อปี อยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูงเรียบร้อยแล้ว
จุดเปลี่ยนที่ทำให้ไต้หวันพัฒนาอย่างก้าวกระโดด คือการที่ภาครัฐส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าของไต้หวัน
ในปี 1973 รัฐบาลไต้หวัน ได้ให้ก่อตั้ง Industrial Technology Research Institute (ITRI)
ซึ่ง ITRI มีการร่วมทุนกับบริษัทฟิลิปส์ของเนเธอร์แลนด์ ทำให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตชิป จนทำให้ ITRI ได้พัฒนากระบวนการผลิตชิปเป็นของตัวเอง
และนำมาสู่การก่อตั้งบริษัทที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของไต้หวัน ในปี 1987
ซึ่งบริษัทนั้นก็คือ Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) นั่นเอง
ปี 2020 TSMC มีรายได้สูงกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธินั้น สูงกว่า 572,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิสูงกว่า 38% สะท้อนถึงการที่บริษัทสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าได้สูงมาก
ไต้หวันยังมีการทุ่มทุนด้านการวิจัยและพัฒนาอย่างหนัก
โดยงบประมาณ R&D คิดเป็นสัดส่วนสูงถึง 3.3% ของ GDP ในปี 2017
ซึ่งถือว่ามากเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก
การที่ไต้หวันก้าวข้ามจากกับดักรายได้ปานกลางได้
ที่เห็นได้ชัด ก็มาจากการให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนา
โดยเฉพาะกับอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้ประเทศได้อย่างมหาศาล
ถึงตรงนี้ ถ้าเรามองโดยภาพรวมแล้วจะเห็นว่า กับดักรายได้ปานกลาง ที่หลายประเทศรวมถึงไทยกำลังพบเจอ มีสาเหตุมาจากหลายปัจจัยด้วยกัน
เช่น การที่ยังเป็นฐานการผลิตและส่งออกสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่สูงมากพอ ยังไม่ค่อยมีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง รวมไปถึงปัญหาสำคัญอย่างการคอร์รัปชัน และความไม่มีเสถียรภาพทางด้านการเมือง
และถ้าเราดูตัวอย่าง ประเทศที่สามารถก้าวผ่านกับดักรายได้ปานกลางมาได้ อย่างเช่น ไต้หวัน
ปัจจัยสำคัญคือ การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ เพื่อคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ จนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มมหาศาลให้กับสินค้าและบริการของประเทศได้
แน่นอนว่า การที่จะทำแบบนั้นได้ ต้องมีการร่วมมือกันทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และอีกหลาย ๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งถ้ามาวางแผนกันดี ๆ แล้วส่งเสริมเรื่องนี้กันให้ถูกจุด
สุดท้ายแล้ว มันก็คงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้
ที่เราจะหลุดพ้น จากกับดักรายได้ปานกลางนี้ไปได้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - facebook.com/longtunman
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References:
-https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/DocLib_/Article_7Nov2017.pdf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Middle_income_trap
-https://admuaea.org/2019/03/27/philippine-economy-headed-for-the-middle-income-trap/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_proven_oil_reserves
-https://knowledge.ckgsb.edu.cn/2019/05/23/chinese-economy/china-middle-income-trap/
-https://www.globalasia.org/v8no1/focus/taiwans-middle-income-trap-no-escaping-without-services_chen-tain-jy
-https://finance.yahoo.com/quote/TSM/
-https://en.wikipedia.org/wiki/Economy_of_Brazil
-https://data.worldbank.org/indicator/NE.EXP.GNFS.ZS?locations=BR
-https://blogs.worldbank.org/opendata/new-world-bank-country-classifications-income-level-2020-2021
-https://eng.stat.gov.tw/point.asp?index=1
同時也有1部Youtube影片,追蹤數超過24萬的網紅lifeintaiwan,也在其Youtube影片中提到,Is Taiwan a developed country? This may seem like a simple question, but there is actually more to the definition of a developed country than meets t...
「taiwan gdp per capita」的推薦目錄:
taiwan gdp per capita 在 ลงทุนแมน Facebook 的最佳解答
ประเทศไทย จะหลุดพ้น กับดักรายได้ปานกลาง ได้อย่างไร? /โดย ลงทุนแมน
ตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทย มีพัฒนาการทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้นอย่างชัดเจน
สะท้อนจากที่ ตั้งแต่ปี 1960 จนถึงปี 2019
รายได้เฉลี่ยต่อหัวของคนไทยเพิ่มขึ้นกว่า 78 เท่า
แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยในตอนนี้
ถูกจัดอยู่ในประเทศรายได้ปานกลางมานานหลายปี
แล้วจะทำอย่างไร? ให้ประเทศไทย
สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางนี้ไปได้
ลงทุนแมนจะเล่าให้ฟัง
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
“ประเทศรายได้ปานกลาง” คืออะไร?
ประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ตามเกณฑ์ของ World Bank คือ ประเทศที่ประชาชนมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีเท่ากับ 31,000-374,000 บาท
ซึ่งประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ยังถูกแบ่งออกเป็นอีก 2 ระดับ คือ
1. ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับต่ำ คือมีรายได้ 31,000-121,000 บาทต่อปี
2. ประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง คือมีรายได้ 121,001-374,000 บาทต่อปี
สำหรับประเทศไทย นับตั้งแต่ปี 1960-2019
รายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีของประชากรไทย เพิ่มขึ้นถึง 78 เท่า
โดยในปัจจุบัน คนไทยมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีประมาณ 234,000 บาท
ทำให้ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางระดับสูง
แต่ประเด็นสำคัญคือ เราติดอยู่ในกลุ่มรายได้ระดับปานกลางมาแล้ว ไม่ต่ำกว่า 30 ปี..
เรื่องที่น่าสนใจก็คือ
ถ้าลองไปเปิดแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (ปี 2561-2580)
ก็จะพบว่า หนึ่งในเป้าหมายที่น่าสนใจก็คือ
“การเปลี่ยนสถานะให้ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีรายได้สูงในปี 2580”
หมายความว่า ตอนนี้เราเหลือเวลาอีกประมาณ 16 ปี ที่จะทำให้ประเทศไทย หลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง
สำหรับประเทศไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
เศรษฐกิจของไทย เติบโตด้วยอัตราที่ต่ำลง
จากที่เคยอยู่ที่ในระดับ 4.3% ต่อปี ในช่วงปี 2000-2009
ลดลงมาเหลือเพียง 3.6% ต่อปี ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
โดยข้อมูลจาก World Bank ระบุว่า
ถ้าประเทศไทยต้องการจะเร่งอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจให้สูงขึ้น
ก็จะต้องเพิ่ม “ประสิทธิภาพการผลิต” และเร่งปฏิรูปโครงสร้างเพื่อกระตุ้นการลงทุน
เพื่อให้สามารถรักษาอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ ที่เฉลี่ยแล้วมากกว่า 5% ต่อปี ต่อเนื่องไปจนถึงปี 2568
แล้วคำว่า ประสิทธิภาพการผลิตคืออะไร?
สมมติว่า เรามีโรงงานผลิตรองเท้าที่มีความสามารถในการผลิตได้ตามมาตรฐานวันละ 1,000 คู่ต่อวัน
หากโรงงาน สามารถผลิตได้มากกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ อย่างเช่น 1,200 คู่ต่อวัน ก็ถือว่า โรงงานเรามีประสิทธิภาพการผลิต
คำถามสำคัญคือ แล้วเราจะยกระดับประสิทธิภาพการผลิตขึ้น ได้อย่างไร?
คำตอบนั้น ก็คงต้องเริ่มจาก การจริงจังกับการพัฒนา “พื้นฐาน” ในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้แก่
1. พัฒนาระบบการศึกษาภายในประเทศ
ให้เด็กไทยมีทักษะด้านภาษาต่างประเทศ ด้านการคำนวณ และทักษะแห่งอนาคต เช่น ด้านเทคโนโลยี
เพื่อเสริมสร้างพื้นฐานความสามารถให้แข็งแกร่ง และแข่งขันได้ในอนาคต
2. ต้องจริงจังในเรื่องการลงทุนเพื่อการพัฒนาทักษะแรงงานไทย
ต้องลงทุนเพื่อให้แรงงานไทยมีความสามารถในด้านต่างๆ
โดยเฉพาะความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่สูงขึ้น
ที่สำคัญคือ ภาครัฐ และเอกชน ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจ
ให้แรงงานในไทยมีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ หรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้กับประเทศ
3. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม
เพื่อช่วยลดต้นทุนการขนส่งของภาคเอกชน ในการลำเลียงวัตถุดิบและการจัดจำหน่ายสินค้าภายในประเทศ หรือส่งไปขายยังต่างประเทศ
4. รัฐบาลต้องมีมาตรการหรือสร้างสภาวะแวดล้อม ที่ดึงดูดการลงทุนระยะยาวจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งจะช่วยสร้างความต่อเนื่องให้กับการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในอนาคต
และนอกจากเรื่องประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว
ในช่วงปี 2010-2019 การลงทุนโดยรวมของไทย ที่เกิดจากภาครัฐและเอกชน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญต่อการเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ ก็ยังมีสัดส่วนเฉลี่ยเพียง 24% ต่อ GDP
โดยสัดส่วนเท่านี้ ถือว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ของประเทศในกลุ่มรายได้ปานกลาง ที่จะอยู่ที่ประมาณ 30% ต่อ GDP
ซึ่งถ้าอยากให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีกว่านี้
ภาครัฐและภาคเอกชน ก็คงต้องช่วยกันเพิ่มสัดส่วนดังกล่าวขึ้นอีก
ถึงตรงนี้ เราก็สามารถสรุปได้ว่า
ถ้าอยากให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยสูงขึ้น
2 เรื่องสำคัญ คือ ต้องยกระดับประสิทธิภาพการผลิตขึ้นให้ได้
และ ต้องมีการลงทุนในประเทศให้สูงขึ้นด้วย
ซึ่งทั้งหมดนี้ มันไม่สามารถทำได้ด้วยภาคส่วนใดภาคส่วนหนึ่งเท่านั้น
แต่ทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึง ตัวเราเองทุกคน ต้องร่วมมือกัน
ซึ่งถ้าทำได้ เราก็มีโอกาสที่จะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลาง
และเราคนไทยจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
เหมือนที่หลายคนคาดหวังเอาไว้ ในตอนนี้..
╔═══════════╗
Blockdit เป็นแพลตฟอร์ม สำหรับนักอ่าน และนักเขียน
ที่มีผู้ใช้งาน 1 ล้านคน ลองใช้แพลตฟอร์มนี้เพื่อได้ไอเดียใหม่ๆ
แล้วอาจพบว่าสังคมนี้เหมาะกับคนเช่นคุณ
Blockdit. Ideas Happen. Blockdit.com/download
╚═══════════╝
ติดตามลงทุนแมนได้ที่
Website - longtunman.com
Blockdit - blockdit.com/longtunman
Facebook - ลงทุนแมน
Twitter - twitter.com/longtunman
Instagram - instagram.com/longtunman
Line - page.line.me/longtunman
YouTube - youtube.com/longtunman
Spotify - open.spotify.com/show/4jz0qVn1AL7tRMHiTvMbZH
Apple Podcasts - podcasts.apple.com/th/podcast/ลงท-นแมน/id1543162829
Soundcloud - soundcloud.com/longtunman
References
-https://thaipublica.org/2020/12/world-bank-bot-thailand-manufacturing-firm-productivityreport/?fbclid=IwAR353HGXzKnGfkmzRESdNKggFxUuUFwQt-eIIfk0vFxpq0zBupN3t7ASDQI
-http://documents1.worldbank.org/curated/en/497151606302306312/pdf/Thailand-Manufacturing-Firm-Productivity-Report.pdf
-https://www.worldbank.org/en/country/mic/overview#:~:text=They%20are%20defined%20as%20lower,62%25%20of%20the%20world%27s%20poor.
-https://www.macrotrends.net/countries/KOR/south-korea/gdp-per-capita#:~:text=South%20Korea%20gdp%20per%20capita%20for%202019%20was%20%2431%2C762%2C%20a,a%201.94%25%20increase%20from%202015.
-https://www.statista.com/statistics/727592/gross-domestic-product-gdp-per-capita-in-taiwan/
-https://data.worldbank.org/indicator/NY.GDP.MKTP.KD.ZG
-https://data.worldbank.org/indicator/BX.KLT.DINV.CD.WD?locations=TH
-https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_176.pdf
taiwan gdp per capita 在 CommonWealth Magazine Facebook 的最佳貼文
◤Instead of Following Singapore’s Authoritarianism, Taiwanese Should Make Democracy Work for Them◢
Singapore’s GDP per capita is a façade that has deceived taiwanese, but going back to authoritarianism is not going to help for Taiwan. It is time Taiwanese youths take a stand.
---
✹More stories to follow. Please visit
https://bit.ly/2Ip2NTC
#Singapore #Authoritarianism #GDP #Taiwan #LeeHsienLoong
taiwan gdp per capita 在 lifeintaiwan Youtube 的精選貼文
Is Taiwan a developed country? This may seem like a simple question, but there is actually more to the definition of a developed country than meets the eye, a report known as the Human Development Index carried out by the UN is largely responsible for classifying countries as developed or not. Watch to find out what I think!!
#taiwan #lifeintaiwan #已開發國家
Send me stickers!
196 Hankou Road, Section 4, North District, Taichung City 404
404台中市北區漢口路四段196號
去看看我的Patreon,您可以幫助支持該頻道並訪問一些令人驚嘆的VVVIP附加功能:
https://www.patreon.com/lifeintaiwan2017
Check out my Patreon where you can help support the channel and access some AWESOME VVVIP Extra Features:
https://www.patreon.com/lifeintaiwan2017
Subscribe! 訂閱吧 ---- : https://www.youtube.com/c/lifeintaiwan
Facebook/FB ---- : https://www.facebook.com/lifeintaiwan2017
Instagram/IG ---- : https://www.instagram.com/lifeintaiwan2017
看其他的影片:
Check out some other videos:
與黑素斯一起泡餅乾 BISCUIT dunking with JESUS!!
https://www.youtube.com/watch?v=SeJgp6KvmvY
台灣的外國人吃3種米血! I EAT 3 kinds of PIG's BLOOD cake!
https://www.youtube.com/watch?v=mjWRxvltJdw&t=5s
外國人在台灣吃傳統壽司 BEST SUSHI in 台灣
https://www.youtube.com/watch?v=AfutAW6k7DE&t=171s
台灣的最好吃美式早餐 ! Best AMERICAN Breakfast in TAIWAN???
https://www.youtube.com/watch?v=6TpH1Cu_-10&t=334s
My Gear:
My camera: http://s.click.aliexpress.com/e/YVbuNZN
My camera & lens kit: http://s.click.aliexpress.com/e/fIa27iy
My nighttime lens: http://s.click.aliexpress.com/e/uNzzneE
My microphone: http://s.click.aliexpress.com/e/RfAUR3F
My video light: http://s.click.aliexpress.com/e/Eu3jmMb
My cheap tripod: http://s.click.aliexpress.com/e/ji2JAee
My computer: http://s.click.aliexpress.com/e/Q7Qn2Z7
拍攝景點:
Shooting Location:
Taichung City
音樂:
Music:
Track: Poolside — LiQWYD [Audio Library Release]
Music provided by Audio Library Plus
Watch: https://youtu.be/ROh5Uc9P39o
Free Download / Stream: https://alplus.io/Poolside
taiwan gdp per capita 在 Taiwan vs South Korea GDP/GDP per capita/Economic ... 的推薦與評價
... <看更多>